ทำงานเป็นทีม คุณต้องรู้ว่า ทีมของคุณอยู่ขั้นไหนแล้ว

การทำงานในปัจจุบัน จะมีลักษณะของทีม มากขึ้น

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน ว่า ทีมคืออะไร ต่างจาก กลุ่ม (Group) ทั่วไปอย่างไร

กลุ่ม  คือการรวมตัวกันของคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีเป้าหมายร่วมกัน
ส่วน ทีม  เป็นกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากจะมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว  คนในทีมยังต้องทำงานกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วย

การทำงานเป็นทีมมีความสลับซับซ้อนกว่าการทำงานเป็นกลุ่ม หรือทำงานคนเดียว  เพราะต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การสื่อสาร  และการประสานงานเป็นอย่างมาก  ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้การทำงานในทีมเป็นเรื่องท้าทาย  จนอาจทำให้ถึงกับรู้สึกคับข้องใจบ้างในบางครั้ง  แต่ขณะเดียวกันเราก็ได้อะไรจากมันหลายอย่าง  อาจกล่าวได้ว่า  ในชีวิตการทำงานนั้น  ไม่มีอะไรที่น่าเหนื่อยหน่ายใจมากไปกว่าการอยู่ในทีมที่ยอดแย่  และไม่มีอะไรที่น่าพึงพอใจไปกว่าการอยู่ในทีมที่ยอดเยี่ยม

ด้วยความซับซ้อนดังกล่าว  ความเข้าใจในโครงสร้าง พัฒนาการ เป้าหมาย บทบาทของคนในทีม ฯลฯ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

น่าเสียดายว่า ทีมงานส่วนใหญ่ทำงานกันไป โดยขาดความเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้ จึงส่งผลให้ทีมขาดประสิทธิภาพอย่างมาก

ในบล๊อกนี้ เรามาดูองค์ประกอบหนึ่งของทีมก่อน  นั่นคือ ระดับพัฒนาการ 4 ขั้น

  ขั้น                    คำถามในใจ

ก่อตั้ง  (Forming) เราคือใคร  และเราจะทำอะไร

ปะทะ (Storming) ทำไมเราเข้าถึงเข้ากันไม่ได้

สร้างบรรทัดฐาน (Norming)  เราจะจัดการเรื่องยุ่งยากนี้ยังไง

สร้างผลงาน (Performing) เราจะลุยไปด้วยกัน

 

 

พัฒนาการ 4 ขั้นของทีม

1  ทีมที่อยู่ในขั้นก่อตั้ง  (Forming)  จะให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องคือ

  •  เป้าหมายของทีมหรืองาน
  • ความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในทีม  และ
  • ภาวะผู้นำ

หลังจากทีมผ่านขั้นก่อตั้งแล้ว สมาชิกในทีมจะเริ่มเกิดความขัดแย้งขึ้นและทีมจะเข้าสู่ขั้นถัดไป

2  ขั้นปะทะ (Storming)  คือ เกิดความขัดแย้งของสมาชิกในทีมขึ้น
ซึ่งอาจเป็นไปได้ตั้งแต่ไม่ค่อยรุนแรง ถึงรุนแรงมาก จนอาจมีความตึงเครียดระหว่างสมาชิกในทีมกับหัวหน้าทีม หรือระหว่างสมาชิกด้วยกัน ในเรื่องเกี่ยวกับทิศทางของทีมและโครงสร้างการทำงาน

ความตึงเครียดเหล่านี้มีสาเหตุลึก ๆ จากเรื่องอำนาจ  อิทธิพล  และการควบคุม  รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่นค่านิยม  การรับรู้  และความคิดเห็นของสมาชิกในทีม

ทีมที่แก้ไขความขัดแย้งเหล่านี้ได้แล้วจะก้าวไปสู่ขั้นที่สาม

 

3. สร้างบรรทัดฐาน (Norming)
ขั้นนี้  ทีมจะสร้างบรรทัดฐาน (Norm) หรือข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน  ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
จากนั้นทีมจะก้าวสู่ขั้นสุดท้าย  คือขั้นสร้างผลงาน

 

4. สร้างผลงาน (Performing)  
ขั้นนี้ทีมจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเต็มที่

มีการประสานงานและมีขวัญกำลังใจที่ดี

 

 

ทั้ง 4 ขั้นดังกล่าวเป็นพัฒนาการตามลำดับขั้น (developmental stages)

หมายความว่า ทีมจะต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นเสียก่อน จึงจะสามารถก้าวไปสู่ขั้นถัดไปด้วยดี

เป็นไปได้เช่นกันที่ทีมอาจถอยกลับไปยังขั้นก่อนหน้า  ปรากฏการณ์อย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่อปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเกิดขึ้นซ้ำอีก  หรือเกิดปัญหาชนิดใหม่ขึ้นมาในทีม  ทีมบางทีมไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่า 2 ขั้นแรกเลย  (ก่อตั้งและขัดแย้ง)

ผมเองเคยเรียนเรื่องนี้ ซึ่งอยู่ในวิชา Organization Development และก็เคยทำงานเป็นทีม ทั้งทั้งทีมผู้บริหาร และโปรเจ็คทีม  แต่ก็ไม่ได้เข้าใจเรื่องพัฒนาการทีมได้ชัดเจนนัก

แต่พอศึกษาความรู้เรื่องนี้ ควบคุู่กับเอ็นเนียแกรม  จึงเห็นภาพชัดเจน ว่าจะช่วยให้ทีมงาน ก้าวผ่านจากขั้นก่อตั้ง ปะทะ สร้างบรรทัดฐาน จนถึงขั้นสร้างผลงาน  ในเวลาที่รวดเร็วขึ้นอย่างไร

ต้วอย่างเช่น  ในขั้นก่อตั้ง
คนส่วนมากก็จะใจร้อน รีบอยากลงมือทำในส่วนที่ตนเองได้รับมอบหมาย
ซึ่งที่จริง ในขั้นนี้ นอกจากการกำหนดเป้าหมายและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบแล้ว  สิ่งสำคัญที่ทีมต้องทำคือ ทำความรู้จักกันและกัน  สร้างความเข้าอกเข้าใจกัน เพื่อเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดี มากพอที่จะรองรับการปะทะ ในขั้นถัดไป

ถ้าเข้าใจเรื่องเอ็นเนีแกรม ก็จะรู้ว่า ในขั้นนี้ ทุกคนควรทำตัวแบบ คนเบอร์สอง หรือ เก้า คือคนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์และการทำความรู้จักกัน  แทนที่จะทำใจร้อนแบบ เบอร์ 1  3  6 หรือ 8

 


ถึงอย่างไร ทีมก็จะเข้าสู่ ขั้นปะทะ อย่างเลี่ยงไม่ได้ จะข้ามขั้นไปยังขั้นสุดท่ายเลย ก็ไม่ได้

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของทีมเช่นนี้  สิ่งที่สมาชิกในทีมต้องทำคือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวยเอง  เพื่อให้ผ่านขั้นนี้ไปได้รวดเร็ว  และไม่ทำให้คนในทีมเสียกำลังใจจนอยากออกจากทีม

เช่น คนเบอร์ 9 ที่กลัวความขัดแย้งมากๆ พอเห็นความขัดแย้งซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในขั้นนี้ อาจรู้สึกหมดกำลังใจเ จนไม่อยากอยู่ในทีม ก็ต้องปรับมุมมองของตนว่า ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย แต่ทำให้เราเข้าใจกัมากขึ้น
ส่วนคนเบอร์อื่นๆ ที่อาจมีกริยาท่าทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับคนอื่นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเบอร์ 8  เบอร์หกแบบแรง  เบอร์หนึ่งที่เข้มงวด และยึดติดกฎเกณฑ์เกินไป  ฯลฯ ก็ควรรู้ตัว และระมัดระวังการแสดงออกของตนเพื่อไม่ให้เพิ่มความรุนแรงให้กับความขัดแย้งในขั้นนี้

คนเบอร์อื่นๆ ก็มีเรื่องที่ต้องตระหนักรู้ และปรับตัวตัวให้เหมาะกับพัฒนาการของทีมในแต่ละขั้นด้วยเช่นกัน

 

ในหนังสือป้้นคนให้เก่งคน เล่ม 2 บทที่ 5  การสร้างทีมงานสมรรถสูง

มีรายละเอียดของแต่ละขั้นเหล่านี้ รวมทั้งบทบาทต่างๆ ที่คนแต่ละเบอร์ควรแสดงออก เมื่ออยู่ในแต่ละขั้น

นี่เป็นเนื้อหา ที่จะทำให้คุณเข้าใจวิธีผลักดันทีมงานไปสู่ขั้น สร้างผลงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด