Passion จริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน หาอย่างไร? พบคำตอบที่นี่

“หางานที่คุณรัก แล้วคุณจะไม่ต้องทำงานไปตลอดชีวิต” คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่รู้สึกว่าการมุ่งค้นหา “ความปรารถนาอย่างแรงกล้า” ในชีวิต (Passion) และตัวตนของตัวคุณเอง อย่างที่เขาว่ากัน แล้วพบว่า มันช่างหายากหาเย็นเสียเหลือเกิน… หรือ ได้ลองออกตามหา “สิ่งที่ใช่” หรือ “อาชีพในฝัน” แต่มันก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเสียที… จนเกิดคำถามว่า สุดท้ายแล้ว Passion นั้นมันมีจริงหรือเปล่า?

Read More →

กลไกป้องกันจิตใจ ของคน 9 แบบในเอ็นเนียแกรม (Defense Mechanism)

ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้อธิบายว่า คนเราทุกคนไม่อาจหลีกหนีความกังวลและความเครียดต่างๆ ที่เกิดจากกระบวนการเป็นไปทางกาย ความคับข้องใจ (Frustrations) ความขัดแย้ง (Conflict) สิ่งสะเทือนขวัญ (Treats) จึงพยายามที่จะหาวิธีผ่อนคลายจากสภาวะนี้ ด้วยการใช้ “กลไกป้องกันจิตใจ” หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นกลไกในระดับจิตใต้สำนึก เพื่อเป็นการปฏิเสธ หรือปิดบังอำพรางความเป็นจริงที่เราไม่อาจยอมรับมันได้โดยง่าย

Read More →

พัฒนาตัวคุณสู่สมดุลด้วย การตั้งทิศ (ลูกศร) และติดปีก – ตอนที่ 3 ศูนย์ใจ (จบ)

การพัฒนาตัวเองของคนศูนย์ใจ คนเบอร์ 2 เบอร์ 3 และเบอร์ 4 คนกลุ่มนี้ พยายามสร้างภาพลักษณ์ เพื่อให้ผู้อื่นตอบสนองกลับมาอย่างที่ตนต้องการ มีความกังวลว่าคนอื่นจะมองเขาอย่างไร สุดท้ายผลที่เกิดตามมาคือ ความรู้สึกว่าไม่มีใครเห็นคุณค่าตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา ทำให้รู้สึกเศร้า ซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกี่ยวกับศูนย์ใจ

Read More →

พัฒนาตัวคุณสู่สมดุลด้วย การตั้งทิศ (ลูกศร) และติดปีก – ตอนที่ 2 ศูนย์กาย

การพัฒนาตัวเองของคนศูนย์กาย คนเบอร์ 8 เบอร์ 9 และเบอร์ 1 ล้วนอยู่ในศูนย์กาย ซึ่งคนกลุ่มนี้เชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตน แต่มีวิธีที่ไม่เหมือนกันในการควบคุมความโกรธ ที่เป็นอารมณ์หลักของศูนย์กาย

Read More →

พัฒนาตัวคุณให้สมดุลด้วย การตั้งทิศ (ลูกศร) และติดปีก – ตอนที่ 1 ศูนย์หัว

สำหรับผู้ที่เรียนเอ็นเนียแกรม (นพลักษณ์) แล้วได้ค้นพบเบอร์ตัวเองจริงๆ จะรู้สึกว่า เอ็นเนียแกรม เป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณเห็นแบบแผนตัวตน จุดอ่อน ความเชื่อ แรงจูงใจ mind set ฯลฯ ที่ชัดเจนอย่างน่าทึ่ง แต่หากคุณหยุดการเรียนรู้ที่ตรงนี้ผมอยากบอกว่า จะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ “จุดเริ่มต้น” เท่านั้นเอง เพราะแก่นสำคัญที่สุดของเอ็นเนียแกรมนั้นอยู่ที่ว่า คุณจะพัฒนาตนเองอย่างไร เพื่อก้าวข้ามแบบแผนความคิดเดิมๆ ที่ทำให้ตัวคุณ ต้องพบปัญหาตามสไตล์เอ็นเนียแกรมของตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้จบ ซึ่งแนวทางพัฒนาตนเองที่เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง คือ การใช้แนวคิดเรื่อง ปีกและลูกศร (Wings & Arrows) นั่นเอง

Read More →

23 APR: Defense Mechanism & The Enneagram

เกอร์ดจีฟฟ์ กล่าวว่า อุปสรรคที่สำคัญในการรู้ลักษณ์ตนเองคือ กันชน (Buffers) คนเราซ่อนลักษณะที่ไม่ดีไว้จากตนเองด้วยระบบกันชนในจิตใจ ทำให้เรามองไม่เห็นการทำงานของพลังผลักดันซึ่งอยู่ภายใต้บุคลิกของเรา ซึ่งสิ่งเดียวกันนี้เอง ได้ถูกเรียกตามแนวคิดจิตวิทยาสมัยใหม่ว่า “Defense Mechanism” นั่นเอง

Read More →

“Soul Child” เด็กน้อยที่ถูกทอดทิ้ง อยู่ในจิตใต้สำนึกของคนแต่ละเบอร์

คุณเป็นแบบนี้บ้างหรือไม่? รู้ว่ามีงานหรือเรื่องที่ต้องทำ แต่ก็ผัดผ่อนไปเรื่อย จนบางครั้งเผลอลืมไปเลย รู้ตัวว่าต้องลดน้ำหนัก หรือออกกำลังกาย แต่กลับชอบกินขนม ของหวาน จุบจิบ หรืองีบหลับในเวลาว่าง รู้และตั้งใจจะยื่นภาษีแต่เนิ่นๆ แต่ไม่รู้ยังไง กว่าจะยื่นได้ก็วันสุดท้ายเสียแล้ว ฯลฯ จนเหมือนกับว่า สิ่งที่เราทำจริงๆ ช่างต่างจากสิ่งที่เรารู้ว่าต้องทำ จะทำ หรือควรทำ

Read More →

คำสารภาพ จากคนที่เคย”ขาดความสำนึกผิด”

“เธออยากจะอยู่กับสำนึกผิดติดตัว ก็ตามใจ”  ครั้งแรกที่ผมได้ยินคำพูดนี้ ก็ตอนเรียนอยู่ประถมหนึ่ง  ในใจตอนนั้นคิดว่า เป็นคำพูดที่โง่มาก  เพราะผมไม่เคยรู้สึกอะไรแบบนั้นเลยสักนิด  และไม่มีวันที่จะรู้สึกด้วย

Read More →

15-16 APR: Parenting with the Enneagram Workshop

“เด็ก” ไม่ใช่เป็นแค่เพียงลูกของพ่อหรือแม่ แต่เขาเป็น “ตัวของเขาเอง” ด้วย . ในการเลี้ยงบุตรหลานนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตดีๆ จะเห็นว่า … เด็กน้อยบางคน เงียบและเก็บตัว ..มากกว่าเด็กคนอื่นๆ เด็กบางคน อารมณ์ร้อนเหมือนโกรธแต่เกิด..มากกว่าเด็กคนอื่นๆ เด็กบางคนขี้น้อยใจ …มากกว่าเด็กคนอื่นๆ หรือเด็กบางคนอาจเป็นระเบียบ เรียบร้อย กระทั่งสอนคุณพ่อคุณแม่เองเสียด้วย 🙂

Read More →

16-17 MAY: Giving Constructive Feedback with the Enneagram

“คุณเป็นคนหนึ่งปล่อยให้ลูกน้องทำงาน โดยไม่มีการให้ Feedback หรือไม่ หรือ ถ้าคุณบอกว่า ให้ Feedback อยู่เสมอ คำถาม คือ ผลการทำงานของลูกน้องดีขึ้นไหม?” การไม่เคยให้ Feedback หรือ การให้ Feedback แล้วก็ตาม หากยังพบเห็นว่า งานหรือพฤติกรรมที่มีปัญหายังคงมีอยู่เหมือนเดิม นั่นหมายความว่า การให้ Feedback นั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพในทางปฎิบัติ

Read More →