ทฤษฎี DISC คิดค้นขึ้นโดย W.M. Marston ในช่วงทศวรรษ 1920 เพื่อใช้ประเมินตัวเอง โดยจัดแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 4 ด้าน DISC ย่อมาจากคำ 4 คำที่มีคำนิยามดังนี้
- Dominance เกี่ยวกับการควบคุม อำนาจ และการแสดงหรือปกป้องสิทธิ์
- Influence เกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคมและการสื่อสาร
- Steadiness เกี่ยวกับความอดทน ความไม่ย่อท้อ และการคิดอย่างถี่ถ้วน และ
- Conscientiousness เกี่ยวกับระบบ แบบแผน และการจัดการ
D และ I แสดงถึงบุคลิกแบบชอบสังคม (extroverted) ส่วน C และ S เป็นแบบเก็บตัว (introverted) D และ C แสดงถึง การจดจ่อกับงาน ส่วน I และ S จะเน้นเรื่องสังคมหรือความสัมพันธ์
DISC ในปัจจุบันมีหลายสิบเวอร์ชั่น มีแบบทดสอบให้ทำทั้งแบบออนไลน์ ซอฟต์แวร์ หรือกระดาษ ผลการทดสอบที่ได้ช่วยให้เราได้สำรวจพฤติกรรมและความชอบของเราใน 4 มิติดังกล่าว
แบบทดสอบเป็นแบบสั้นๆ จำนวนประมาณ 18 ถึง 25 ข้อให้เลือก
บางข้อเป็นคำๆ เดียว บางข้อเป็นประโยคหรือวลี
เอ็นเนียแกรมต่างกับ DISC ตรงที่ไม่มีแบบทดสอบที่จะยืนยันสไตล์เอ็นเนียแกรมได้เที่ยงตรง 100% แต่ก็มีแบบทดสอบหลายแบบทั้งออนไลน์หรือบนกระดาษซึ่งพอใช้เป็นแนวทางได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญคือ เอ็นเนียแกรมให้คำอธิบายที่แม่นยำในเรื่องความคิด
(Mindsets) ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนซํ้าๆ ของคนเรา ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสังเกตและทบทวนตัวเอง การที่จะระบุสไตล์เอ็นเนียแกรมได้อย่างถูกต้องนั้น แต่ละคนจำเป็นต้องสังเกตและทบทวนตัวเองให้ดี ผลจากการสำรวจตรวจสอบตัวเอง
และการที่เอ็นเนียแกรมอธิบายมนุษย์ได้อย่างละเอียดมากๆ คือ ครอบคลุมทั้งประวัติส่วนตัว แรงขับพื้นฐาน แรงจูงใจ และโลกทัศน์ ทำให้ความรู้นี้ช่วยให้เราเข้าใจตนเองและผู้อื่น จากนั้นจึงเกิดการเติบโตและพัฒนาในระดับรากเหง้าได้อย่างรวดเร็วยิ่ง
ปัจจุบัน ความท้าทายทางธุรกิจเรียกร้องให้เราต้องตระหนักรู้ตัวมากขึ้น และต้องหันมาทบทวนนิสัยที่ก่อให้เกิดรูปแบบของความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตัวเอง รวมทั้งต้อง เปลี่ยนแปลงถ้าจำเป็น เอ็นเนียแกรมให้แนวทางในเรื่องนี้ได้
บุคลิกภาพประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นโครงสร้างจากกรรมพันธุ์ซึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง และส่วนที่เป็นพฤติกรรมจากการเรียนรู้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า
เอ็นเนียแกรมได้บูรณาการทั้งส่วนที่เป็น “คอมพิวเตอร์ชีวภาพ” ซึ่งรวมถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำงานของสมองและ ตัวโปรแกรม และส่วนที่เป็นพฤติกรรมจากการเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงแรงจูงใจและเจตจำนงลึกๆ
นอกจากนี้เอ็นเนียแกรมยังอธิบายถึง การจดจ่อหรือให้ความสำคัญของจิตใจ (เหมือนโหมดบินอย่าง อัตโนมัติ autopilot ของเครื่องบิน) และการเลือกสิ่งที่จะรับรู้ (เหมือน auto-focus ของกล้องถ่ายรูป)
ความจริงง่ายๆ ข้อหนึ่งคือ “เราใส่อะไรเข้าไป เราก็ได้สิ่งนั้นออกมา” ความเข้าใจที่ได้จากการประเมินตัวเองภายในเวลา 10 นาที ย่อมแตกต่างจากสิ่งที่ได้จากการสังเกตตัวเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยาวนาน ถึงแม้ว่าทั้ง 2 วิธีจะมีคุณค่าและใช้ควบคู่กันได้ การใช้เอ็นเนียแกรมช่วยให้เรามองเห็นประสบการณ์ชีวิตจากมุมมองที่ปราศจากอคติ ซึ่งต่างจากการมองตัวเองจากมุมมองความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง
สิ่งนี้จะทำให้ “ตัวรู้” หรือ “นักสังเกตการณ์ภายใน” ของเราได้พัฒนาขึ้น
ถ้าจะเปรียบเทียบ DISC เป็นเครื่องมือที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางบนทางหลวงให้เร็วที่สุด โดยไม่ได้มองดู เมืองต่างๆ ตามทางเลย ส่วนเอ็นเนียแกรมจะเหมือนแผนที่ทางหลวง ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่า โดยครอบคลุมถึงเมืองและหมู่บ้านตาม เส้นทาง แผนที่นี้ยังบอกถึงสิ่งดีๆ ที่น่าชมในแต่ละเมือง เช่นเดียว กับเส้นทางไปยังภูมิประเทศนั้น
เราสามารถใช้เครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกันได้ ตัวอย่าง
เช่น คนเบอร์สองและเบอร์สี่ในเอ็นเนียแกรมมุ่งเน้นเรื่องความสัมพันธ์ คนทั้งสองแบบนี้อาจหงุดหงิดรำคาญเมื่อต้องทำงานกับ เพื่อนร่วมงานที่จุกจิกจู้จี้ หรือคนแบบ C (ระมัดระวัง และเน้น
ระบบระเบียบ) ใน DISC ความเข้าใจในความแตกต่างนี้สามารถ ช่วยคนเบอร์สองและเบอร์สี่ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารและการ ทำงานให้ลงรายละเอียดมากขึ้น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันมากขึ้น
เช่นเดียวกัน คนที่เป็นแบบ C อาจพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้มากขึ้นกว่าปกติ
ที่มา : แปลจาก เวป theenneagraminbusiness.com/the-enneagram/other-systems/ เขียนโดย มาร์ติน ซาลเวเดิล ที่ปรึกษาชาวเยอรมัน และโค้ชชาวเยอรมัน
สรุปข้อคิดเห็นจากเรา –
สิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่า DISC และ Enneagram คือ ช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของบุคลิกภาพของคน แต่ DISC อธิบายเพียงในแง่ลักษณะนิสัย ส่วน เอ็นเนียแกรมอธิบาย ทั้งลักษณะนิสัย พฤติกรรมทางความคิด ความรู้สึก และการกระทำ แรงจูงใจ Mindset ความเชื่อ กลไกป้องกันตนเอง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นที่มาของจุดแข็ง และจุดอ่อน ของคนแต่ละสไตล์
ในแง่วัตถุประสงค์ เอ็นเนียแกรม มีขอบเขตการใช้งานที่มากกว่า ทั้งในเรื่องชีวิตทั่วไป เช่น พัฒนาความสัมพันธ์ การเลี้ยงลูก การเลือกอาชีพที่เหมาะกับสไตล์ และในเรื่องการทำงาน เช่น พัฒนาภาวะผู้นำ การสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การสร้างทีม โค้ชชิ่ง
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม อาจดูได้จากรายชื่อ หนังสือเอ็นเนียแกรม ที่เราแปลมา ในหัวข้อการใช้งานต่างๆ
โดยสรุป จุดเด่นของ เอ็นเนียแกรม คือ เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองที่ชัดเจนและได้ผล
ด้วยคำอธิบายของเอ็นเนียแกรม ในมิติต่างๆ อาจทำให้หลายคนรู้สึกว่า มีความสลับซับซ้อน ยากแก่การทำความเข้าใจ
แต่วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ จะสามารถทำให้เรื่องนี้เข้าได้โดยง่าย เป็นระบบ และชัดเจน คุ้มค่าแก่การลงทุนเวลาในระยะเวลาที่เท่ากัน มากกว่ามาก
วิทยากร
อ. วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช (CPA, MBA, MA)
- MD บ. สยามเอ็นเนียแกรม คอลซัลติ้ง จำกัด
- Certified Enneagram Trainer, Accredited Enneagram Teacher (IEA)
- Certified MBTI Practitioner
- ประสบการณ์ในบริษัทต่างๆ 20 ปี
(ตำแหน่งสุดท้าย Finance & HR Director – Bisnews AFE) - นำการสัมมนาหลักสูตร เอ็นเนียแกรม ให้กับองค์กรต่างๆ มากกว่า 600 รุ่น
- แปลหนังสือเอ็นเนียแกรม และอื่นๆ รวม 14 เล่ม