หาก ขาดความไว้วางใจกัน (Trust) ก็ยากที่จะเกิด ทีมเวิร์ค

ความไว้วางใจ เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของการทำงานร่วมกัน  ในบล็อกก่อน เราได้พูดถึง สาเหตุสำคัญที่หัวหน้าไม่สามารถทำให้ลูกน้องไว้วางใจได้ รวมทั้งแนวทางแก้ไข

คราวนี้ เรามาลองดูว่า ถ้าทีมผู้บริหารระดับสูง ขาดความไว้วางใจ จะเป็นอย่างไร

แพททริก เลนโชนี่ ที่ปรึกษาองค์กรบอกว่า การขาดความไว้วางใจ (Lack of Trust) เป็นปัญหาอันดับ 1 ที่ทำให้ไม่สามารถทำงานเป็นทีมเวิร์คได้

นี่เป็นข้อสรุปจากประสบการณ์การทำงานกับซีอีโอและทีมผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเขาเขียนอธิบายให้เข้าใจชัดเจน ในหนังสือชื่อ The Five Dysfunctions of a Team หรือที่เรานำมาแปล ในเวอร์ชั่นมังงะในชื่อ  ทำทีมให้เวิร์ค กำจัด 5 อุปสรรคของทีมเวิร์ค

Trust ในแง่นี้ หมายถึงความไว้เนื้อเชื่อใจว่า เพื่อนร่วมทีมทุกคนไม่มีใครประสงค์ร้าย หรือคอยฉวยโอกาสหยิบยกจุดเปราะบางของคนในทีมมาโจมตี เลื่อยขาเก้าอี้  แทงข้างหลัง หรือเล่นการเมืองในรูปแบบต่างๆ

ถ้ามีใครสักคนในทีม มีพฤติกรรมข้างต้น  Trust ในทีมย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

หรือถึงจะไม่มี  แต่บางคนในทีมก็อาจมองคนอื่นในแง่ร้ายไปเองก็เป็นได้

และเมื่อไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันแล้ว  แต่ละคนก็จะคอยปกป้องตัวเอง เพราะทุกคนล้วนมีจุดเปราะบาง จึงต้องคอยปกป้อง ระวังตัว  ตามสัญชาติญาณพื้นฐาน

 

 

 

ลองอ่านข้อความต่อไปนี้ เพื่อดูว่า คนในทีมคุณ ขาดความไม่เนื้อเชื่อใจกันหรือไม่

Trust

ถ้าทีมของคุณแทบไม่ค่อยได้ทำสิ่งเหล่านี้ ก็แปลว่า พวกเขาไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ลองทำความเข้าใจให้ชัดๆ อีกที

ถ้าคนในทีมไว้เนื้อเชื่อใจกันจริงๆ ก็จะไม่กลัวว่า จะมีคนที่มีเจตนาร้าย  แต่ละคนก็จะกล้าพอที่จะเปิดเผยจุดเปราะบางของตน เช่น เมื่อทำผิดก็กล้ายอมรับ และเอ่ยปากขอโทษ  มีจุดอ่อนเรื่องใด ก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องคอยปกปิด  ถ้าพูดหรือทำอะไรที่ไม่สมควร หรือเป็นผลเสียต่อทีม ก็กล้าขอโทษด้วย  นอกจากนี้ ก็มีความสนิทสนมกัน จนรู้ถึงเรื่องราวในชีวิตส่วนตัวและพูดคุยในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ลองนึกถึง กลุ่มเพื่อนในสมัยเรียนของคุณก็ได้ เพื่อนร่วมชั้นประถม มัธยม มหาวิทยาลัย  ป ตรี ป โท ฯลฯ

นึกดูว่า เพื่อนกลุ่มไหนที่สนิทกันมากที่สุด  คิดต่อว่า ที่เป็นอย่างนั้น เพราคุณเปิดเผยกันทุกเรื่อง แบบไม่ต้องรักษาหน้าตา หรือผลประโยชน์และรู้จักเรื่องส่วนตัวของกันใช่หรือไม่

ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น

หนังสือ Five Dysfunctions of a Team ฉบับแปล ในแบบเรื่องเล่า

ที่จริง ความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากๆ แบบนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องใช้เวลานาน หรือได้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ฝ่าฟันปัญหาต่างๆ มาร่วมกันมา  ตัวอย่างเช่น คนที่ร่วมงานกันมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโรงงานอย่างลำบาก  หรือสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นสำคัญของบริษัท  หรือฝ่าฟันวิกฤติต่างๆ ขององค์กรมาด้วยกัน

สถานการณ์เหล่านี้ ทำให้คนในทีมได้เปิดเผยตัวตน เปิดเผยจุดอ่อนต่อกัน จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันนั่นเอง

ในทางกลับกัน เมื่อคำนึงถึงปัจจุบัน ที่องค์กรส่วนใหญ่ มักสรรหาผู้บริหารชั้นสูง จากภายนอกองค์กร  แต่ละคน ก็อยู่และรู้จักกันไม่นานพอที่จะสร้างความไว้เนื่้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นได้

คุณคงนึกออกว่า   เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ทีมงานส่วนมากจะประสบปัญหานี้

 

หนังสือเล่มนี้ ยังอธิบายว่า เมื่อทีมงานขาดความไว้เนื้่อเชื่อใจกันแล้ว ยังนำไปสู่ปัญหาลูกโซ่อื่นๆ อย่างไรบ้าง

Five Dysfunctions Teamwork

หนังสือฉบับ มังงะ ต้นฉบับ และฉบับแปลของเรา


กล่าวคือ  ถ้าขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกันดังกล่าวแล้ว

คนในทีมทุกคนก็ต้องคอยปกป้องตัวเอง รักษาหน้า หรือสงวนท่าที  จนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับทีม ไม่กล้าขัดแย้งในเรื่องที่จะต้องถกเถียงเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ขององค์กร

ปัญหาลูกโซ่ถัดไป คือ การขาดความผูกมัดในงาน  การขาดการตรวจสอบกัน   และลงท้ายด้วยการปกป้องอีโกของตัวเองไปวันๆ โดยไม่สนใจในการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

 

รายละเอียดของปัญหาลูกโซ่เหล่านี้ จะนำเสนอในบล็อกถัดไป

แต่ถ้าอยากเข้าใจแนวคิดคร่าวๆ  สามารถดูวิดีโอด้านล่างได้ ซึ่งสรุปปัญหาต่างๆ ของทีมเวิร์คไว้

ปัญหาทีมงาน

 

และถ้าคุณกำลังประสบปัญหาการทำงานเป็นทีมอย่างที่อธิบายข้างบน  จนอยากจะหลุดออกจากสถานการณ์นี้เสียที
อีเมล์ wajasit@enneagram.co.th  หรือโทรมาคุยกับเราได้เลยครับ (02 443 7005)  เราใช้ เอ็นเนียแกรม ช่วยแก้ไขเรื่องนี้ได้เร็วกว่าเครื่องมืออื่นๆ

อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ กัดกร่อน ทีมงานของคุณ และนำความเสียหายมาสู่องค์กร จนแก้ไขได้ยาก

 

 

ทีมคุณยังเวิร์คไหม ลองเช็คดู ! (5 Dysfunctions of a team)

ทีมคุณ ยังเวิร์ค อยู่ไหม ?ลองเช็คดูได้ จาก VDO Clip นี้.#ทำทีมให้เวิร์ค #5Dysfunctions

โพสต์โดย Siam Enneagram เมื่อ 27 กันยายน 2017

วิทยากร

อ. วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช (CPA, MBA, MA)

  • MD บ. สยามเอ็นเนียแกรม คอลซัลติ้ง จำกัด
  • Certified Enneagram Trainer, Accredited Enneagram Teacher (IEA)
  • Certified MBTI Practitioner
  • ประสบการณ์ในบริษัทต่างๆ 20 ปี
    (ตำแหน่งสุดท้าย Finance & HR Director – Bisnews AFE)
  • นำการสัมมนาหลักสูตร เอ็นเนียแกรม ให้กับองค์กรต่างๆ มากกว่า 600 รุ่น
  • แปลหนังสือเอ็นเนียแกรม และอื่นๆ รวม 14 เล่ม