MBTI แตกต่างจาก Enneagram อย่างไร

ความเป็นมาของ MBTI

Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) พัฒนาโดยแคธลีน บริกก์ และลูกสาว อิสซาเบล บริกก์ ไมเออร์ จากทฤษฎีบุคลิกภาพของคารล์ ยุง  MBTI เป็นทั้งแนวคิดและแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ใช้ในการทำความเข้าใจแนวโน้มทางพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งแตกต่างกันใน 4 ด้านคือ ทิศทางการใช้พลัง (Extroversion – Introversion) การรวบรวมข้อมูล  (Sensing – iNtuition) การตัดสินใจจากข้อมูลที่รวบรวมได้ (Thinking – Feeling) และ วิธีการรับมือหรือสัมพันธ์กับโลกภายนอก (Judging – Perceiving)

คำในแต่ละคู่นี้มีความหมายเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น

Extraversion และ Introversion ไม่ได้หมายความถึงคนที่ชอบสังคม หรือชอบเก็บตัว
แต่หมายถึงเวลาที่เรารู้สึกหมดแรงแล้วจะเติมพลังให้กับตัวเองอย่างไร  คนที่มีคะแนน Extraversion สูงชอบที่จะอยู่กับคนอื่นเพื่อให้รู้สึกมีชีวิตชีวา  ส่วนคนที่มีคะแนน Introversion นำ ต้องการอยู่คนเดียวเพื่อเติมพลัง

MBTI บอกว่าบุคลิกของเราตามระบบนี้จะอยู่คงที่ตลอดชีวิต

คนแบบ Sensing จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลัก (ชิม ดู ดม ฟัง และสัมผัส เพื่อรับข้อมูล) ในขณะที่คนแบบ iNtuition จะรวบรวมข้อมูลจากการแวบรู้ หรือรู้จาก “ตัวรู้” ภายในว่า บางสิ่งนั้นเป็นจริง

อีกคู่ Thinker จะตัดสินใจจากการวิเคราะห์และทฤษฎีหรือหลักการเป็นหลัก ส่วน Feeler ใช้ค่านิยม ความชอบหรือไม่ชอบมากกว่า

คู่สุดท้าย คนซึ่งมีคะแนน Judging สูงจะตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ส่วนคนที่คะแนน Perceiving สูง จะชอบรอไปเรื่อยๆ นานๆ ก่อนที่จะตัดสินใจ  เมื่อผสมผสานทั้ง 4 คู่นี้เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะได้บุคลิกแบบ MBTI ทั้งหมด 16 แบบ

 

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบ MBTI กับ Enneagram

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โค้ช ที่ปรึกษา และนักฝึกอบรมหลายคนใช้ทั้งเอ็นเนียแกรมและ MBTI เพราะทำให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  แต่ละตัวมุ่งเน้นแต่ละด้านของตัวมนุษย์ จึงไช้งานร่วมกันได้ดี นอกจากนี้ ยังมีสหสัมพันธ์ระหว่างสไตล์เอ็นเนียแกรมและบุคลิกแบบ MBTI หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น สไตล์หนึ่งมักเป็นแบบ Judging มากกว่า Perceiving  สไตล์สองมักเป็น Feeling มากกว่า Thinking  สไตล์สี่มักเป็น iNtuition มากกว่า Sensing สไตล์ห้ามักเป็น Thinking มากกว่า Feeling เป็นต้น

สหสัมพันธ์เหล่านี้น่าสนใจเป็นพิเศษตรงที่ว่า แต่ละสหสัมพันธ์นั้น มักจะมีคนซึ่งมีสไตล์เอ็นเนียแกรมแบบหนึ่ง แต่มี MBTI ที่แตกต่างไปจากมาตรฐานหรือที่มักพบโดยทั่วไป  คือน่าฉงนว่า

  • รู้สึกของคนสไตล์หนึ่งที่เป็น Perceiving จะเป็นอย่างไร ในเมื่อคนสไตล์นี้ส่วนใหญ่มักชอบสรุปและตัดสินตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • น่าคิดว่า คนสไตล์สองที่เป็น Thinking จะเป็นอย่างไร เพราะนี่คือคนที่รู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นมากกว่าของตัวเอง และให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และความรู้สึก แต่เวลาตัดสินใจ กลับถนัดที่จะใช้หลักการและการวิเคราะห์โดยไม่ใช้ความรู้สึกมากกว่า
  • หรือคนสไตล์ห้าแบบ Feeling  เพราะคนสไตล์นี้มักแยกใจจากความรู้สึกได้ทันที แล้วค่อยมาทบทวนภายหลัง  จึงน่าสนใจว่า คนที่มักตัดความรู้สึกออกไปจะเป็นอย่างไร ในเมื่อความรู้สึกนั้นเองมีความสำคัญกับตัวเขาและวิธีการในการตัดสินใจอย่างมาก
  • ในทำนองเดียวกัน คนสไตล์เจ็ดเก่งในเรื่องคิดค้นไอเดีย และเชิญชวนให้ผู้อื่นพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กัน ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงเป็น Extrovert แต่ก็มีบางคนที่เป็น Introvert อย่างมาก  น่าคิดว่า ความโน้มเอียงแบบหลังนี้จะมีผลอย่างไรต่อการแบ่งปันไอเดียของเขาที่มีอยู่มากมาย
    เหล่านี้เป็นเพียงบางตัวอย่างที่เอ็นเนียแกรมกับ MBTI สามารถใช้ร่วมกันแล้วเกิดพลังประสาน และให้แง่มุมที่น่าสนใจในเรื่องคนที่มีบุคลิกขัดกันในตัว

 

การใช้เอ็นเนียแกรมร่วมกับ MBTI มีโอกาสเป็นไปได้อย่างมาก   บุคคล ทีม และองค์กรก็จะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้นเพราะการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้จะมีความชัดเจนและใช้กันในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 

 


ที่มา : แปลจาก เวป theenneagraminbusiness.com/the-enneagram/other-systems/  เขียนโดย Dr. Hwan-Young Kim

บทความต่อไป จะเป็นการกล่าวถึงการใช้ MBTI ในขั้นสูง คือ Cognitive Function Development