เจาะใจทรัมพ์ อันธพาล หรือผู้ปกป้อง มองจาก เอ็นเนียแกรม

คงไม่มีผู้นำโลกคนไหนที่เป็นที่สนใจ มากเท่ากับประธานาธิปดีสหรัฐฯ ที่ชื่อ โดนัลด์ ทรัมพ์ อีกแล้ว  ในช่วงรณรงค์หาเสียงคัดผู้สมัคร จนไปถึงวันเลือกตั้ง  คนจำนวนมากไม่เชื่อว่า คนแบบเขาจะได้รับเลือก  แต่แล้ว เขาก็ทำให้คนทั้งโลกแทบช็อค!!!

เรามาดูวิเคราะห์กันดูว่า  ทรัมพ์น่าจะเป็นคนเบอร์อะไร จากลักษณะนิสัยที่ปรากฎ

 

ภาพจาก Internet

ก้าวร้าว  เคียดแค้น สร้างศัตรู

ทรัมพ์จะโต้ตอบด้วยคำพูดรุนแรงผ่านทวิตเตอร์ แทบจะทันทีเมื่อเขาถูกวิจารณ์จากใครก็ตาม เช่น ผู้พิพากษา ดารา คู่แข่งทางการเมือง หรือห้างสรรพสินค้าที่ยกเลิกการขายเสื้อผ้าของลูกสาวของเขา
ตอนที่ เมอร์ลิน สตรีพ วิจารณ์เขาโดยไม่เอ่ยชื่อ  ทรัมพ์โต้ตอบโดยเรียกเธอว่าเป็น “ดาราที่ได้รับการยกย่องเกินจริง”  ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เขาเคยยกย่องเธอ   ทุกวันเราจะได้ยินเขา กล่าวโจมตีคนอื่นด้วยน้ำเสียงเหยียดหยามคน อย่างที่ไม่มีนักการเมืองหน้าไหนทำมาก่อน

นี่เป็นอาการของคนเบอร์แปด (อ่าน) ในขั้นต่ำ  ที่เมื่อถูกกระตุ้น ก็จะแก้แค้นด้วยความโมโหทันที เหมือนหยุดตัวเองให้คิดหาทางที่มีชั้นเชิงหน่อยไม่ได้เลย

 

ภาพจาก www.pixbay.com

เผด็จการ บ้าอำนาจ

ทรัมพ์เหมือนผู้นำที่เป็นเผด็จการ ซึ่งสะท้อนในคำพูดทำนอง “ผมคนเดียวแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้” เขาพูดในทำนองว่า ถ้าเป็นประธานาธิบดี แล้ว จะทำอะไรต่อมิอะไร โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงเลย

ทรัมพ์ที่ไม่ฟังคนที่คิดเห็นแตกต่างเลย  เขาไม่เคยแสดงออกว่าอยากรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิด  แต่มักพูดในแง่ว่า ตัวเขา จะทำอย่างที่ตัวเองต้องการ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของคนเบอร์แปด
เขายังพูดชื่นชม ปูติน เผด็จการตัวจริง หลายต่อหลายครั้ง  เมื่อนโยบายห้ามคนต่างชาติบางประเทศเดินทางเข้าประเทศ ถูกขัดขวางจากศาล  เขาก็โจมตีผู้พิพากษา และบอกว่า ศาลไม่มีสิทธิ์ จำกัดอำนาจของเขา

 

ความต้องการอำนาจ

ภาพที่ทรัมพ์ต้องการให้คนมองตัวเองมาอย่างต่อเนื่องคือ ภาพของผู้ชนะ  ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม คนเบอร์แปดแบบ 121 มีความต้องการอำนาจมากกว่าคนเบอร์แปดอีกสองแบบ (แปดแบบ Self-Preservation เน้นเรื่องความมั่นคงทางวัตถุมากกว่า ส่วนแปดแบบสังคมเน้นการปกป้องคนอื่นมากกว่า)

ภาพจาก https://writing.wikinut.com

ทรัมพ์ ต้องการมองตัวเองว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าอยู่เสมอ ซึ่งหมายถึงต้องกดให้คนอื่นต่ำกว่า เมื่อสื่อมวลชนเสนอด้านลบของตน เขาไม่เพียงแต่บอกว่าสื่อมวลชนโกหกและเผยแพร่ “ข่าวปลอม” เท่านั้น แต่ยังเรียกคนทำสื่อว่า “พวกคนที่เลวร้ายที่สุดในโลก”  การโจมตีคนอื่นแบบนี้ ยังเป็นลักษณะนิสัยของคนเบอร์แปดในขั้นต่ำ

เมื่อคนเบอร์แปดรู้สึกยิ่งไม่มั่นคง ก็จะยิ่งทำให้ตัวเองดูยิ่งใหญ่มากขึ้น  ด้วยการทำให้คนอื่นด้อยกว่า หรือเป็นคนเลว ด้วยการใช้คำพูดโจมตี  ทรัมพ์ เน้นเรื่องความยิ่งใหญ่ของตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการพูดเกี่ยวกับตัวเองด้วยคำว่า “Big” บอกว่าตัวเองเป็น “Winner” คนอื่นเป็น “Loser”

 

 

การปฏิเสธ เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดว่าเป็นความจริง

ทรัมพ์มีลักษณะเหมือนเบอร์แปดขั้นต่ำ ตรงที่มักสับสนอยู่บ่อยๆ ว่า สิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นความจริง  ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย นี่คือการแสดงออกของกลไกป้องกันจิตใจของเบอร์แปดที่ชื่อกว่า การปฏิเสธ (Denial)
พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล เขียนในหนังสือพิมพ์ The New York Times ว่า “ไม่มีประธานาธิบดีหรือนักการเมืองอเมริกันที่มีชื่อเสียงคนใหน เคยโกหกได้บ่อยและไม่สนใจอะไร มากไปกว่า ทรัมพ์  ยิ่งไปกว่านั้น เขายังโกหกต่ออีกเรื่อยๆ แม้จะถูกจับได้ก็ตาม”

 

ภาพจาก www.news.vice.com

เน้นการทำ  คิดในภาพรวม – ลงมือทำรวดเร็วโดยไม่ได้คิด หรือพิจารณารายละเอียด

อีกลักษณะนิสัยหนึ่งของเบอร์แปดที่ทรัมพ์แสดงให้เห็นคือ  การทำโดยปราศจากการคิด  ในสัปดาห์แรกหลังจากรับตำแหน่ง เขาออกคำสั่งบริหาร (Executive Order) หลายฉบับ เหมือนพระราชโองการของกษัตริย์  หลายฉบับได้ถูกแก้ไขหรือยกเลิกภายหลัง เพราะเขาไม่ได้อ่าน หรือไม่ได้เข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  หรือไม่ได้คิดถึงผลที่จะตามมา  คำสั่งห้ามผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเดินทางเข้าประเทศได้ถูกผู้พิพากษาตัดสินว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กล่าวกันว่า มันถูกเขียนขึ้นลวกๆ และยังไม่ได้อ่านด้วยซ้ำ

ตัวอย่างอื่นๆ เช่น การสร้างกำแพงกั้นเม็กซิโก แล้วให้เม็กซิโกเป็นคนจ่าย  การเก็บภาษีแพงๆกับ บริษัทที่ไปผลิตสินค้านอกประเทศ

 

ความหุนหันพลันแล่น ความสุดโต่ง (และขาดความชัดเจนในผลกระทบ)

เหมือนแปดที่อยู่ขั้นต่ำ ทรัมพ์ไม่ต้องการและไม่สามารถลดพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น หรือสุดโต่งของตัวเองให้น้อยลง ตัวอย่างที่เขาเคยพูดว่าสามารถทำอะไรกับผู้หญิงก้ได้ เพราะเขามีชื่อเสียง

ไม่สามารถแสดงจุดอ่อนได้

ภาพจาก www.pravdareport.com

บุคลิกแบบเบอร์แปดยังปรากฎให้เห็น ตรงที่เขาไม่สามารถแสดงความอ่อนไหวในรูปแบบใดๆ  เขาไม่เคยยอมรับผิด หรือแสดง

ความอ่อนแอใดๆ เมื่อมีคนชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของเขา เช่น การขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการ หรือความล้มเหลวในธุรกิจ หรือการบิดเบือนว่าตัวเองมีความสามารถ   เขาจะพูดหลบเลี่ยงด้วยการอวดอ้างถึงอำนาจของตัวเอง

คนที่สามารถแสดงจุดเปราะบางของตัวเอง จะสามารถยอมรับจุดอ่อนของตัวเอง หันมาทบทวนตัวเอง และกล้าบอกให้ผู้อื่นรู้ด้วยซ้ำ   ความสามารถนี้บางครั้งนำไปสู่การถ่อมตัวได้  คอลัมมนิสต์ที่ชื่อ บรูนิเขียนถึงทรัมพ์ใน นิวยอร์คไทมส์ว่า “ประธานาธิปดีผู้ไร้ซี่งความถ่อมตัว เขาทำตามใจตัวเอง ไม่สนว่าต้องทำตามความคาดหวังใดๆ  และที่จริงแล้ว สิ่งที่เห็นเด่นชัดในตัวเขาคือ การขาดซึ่งการถ่อมตัว”

 

เราอาจเดาได้ว่า ลึกๆ แล้ว ทรัมพ์รู้สึกไม่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ตอนนี้ที่เขาขาดความรู้ความสามารถในการเป็นประธานาธิปดี  แต่เขาไม่แสดงให้ใครเห็น  ตรงกันข้าม เขาทำเหมือนกับสามารถทำอะไรก็ได้ และรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ทันทีที่เขารู้สึกอ่อนไหว เขาจะยิ่งโอ้อวดความยิ่งใหญ่ของตัวเองมากยิ่งขึ้น และโทษคนอื่นในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น  และเมื่อเขาเผชิญหน้ากับความจริงที่แทบจะปฏิเสธไม่ได้ เขาก็จะบอกว่าเป็นความผิดของคนอื่น

ประการสุดท้าย คนเบอร์แปดมักโปรเจ็คความอ่อนไหวในต้วไปให้คนอื่น และจะหาทางปกป้องพวกเขา  สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องที่ดี หรือไม่ดีก็ได้  เขาต้องการหาจุดอ่อนในตัวคนอื่น แล้วสวมบทบาทของผู้ปกป้อง เพื่อเป็นวิธีจัดการกับความอ่อนไหว (เหมือนเป็นสิ่งที่อยู่นอกตัว) และทำอะไรบางอย่างกับมันพร้อมๆ กับการปฏิเสธสิ่งนั้น

ภาพจาก www.Newsmax.com

ต้องการความสนใจ ต้องการเป็นศูนย์กลางของสิ่งต่างๆ ด้วยการรุกและต่อต้าน

ทรัมพ์แสดงลักษณะหลายอย่างที่ตรงกับคนเบอร์แปดแบบ 121 เป็นพิเศษ  เบอร์แปดแบบนี้ชอบต่อต้านและรุกไปข้างหน้ามากที่สุด และเขาจะรู้สึกมีอำนาจ เมื่อได้เป็นศูนย์กลางความสนใจของคนอื่น

คนเบอร์นี้ชอบเกี่ยวข้องกับอำนาจ แต่ความเป็น 121 ทำให้เราเข้าใจทรัมพ์มากขึ้น  เบอร์แปดแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “การครอบครอง” คือ เขาจะรู้สึกถึงความต้องการที่จะครอบครองความสนใจของทุกคน เพื่อให้ตัวเองมีอำนาจเหนือคนอื่นและเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ
ทรัมพ์เหมือนกับคนเบอร์แปดในขั้นต่ำ  เขาสนุกกับการทำตัวต่อต้านกลุ่มผู้มีอำนาจเก่า และสนุกกับการยั่วยุ การรณรงค์หาเสียงของเขาประสบความสำเร็จ เพราะเขาสาบานว่าจะขัดขวางระบบเดิม และโค่นล้มกลุ่มอำนาจเก่า และสนุกกับการยั่วยุ การรณรงค์หาเสียงของเขาประสบความสำเร็จ เพราะเขาสาบานว่าจะขัดขวางระบบเดิม และโค่นล้มกลุ่มอำนาจเก่า เมื่ออยู่ในตำแหน่งประธานาธิปดีแล้ว ทรัมพ์ไม่ได้ลดความเกรี้ยวกราดทางคำพูดเลย เขาชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่จากชนชั้นกลางผิวขาวที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่า คนรวยอย่างทรัมพ์ คงไม่ยอมให้กลุ่มอำนาจเก่าควบคุม และตั้งแต่เขาขึ้นเป็นประธานธิปดี ก็ไม่ได้เปลี่ยนท่าทีเลย เขายังคงทำสิ่งที่ยั่วยุ และน่าตกใจอยู่เสมอ คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์เขียนว่า “ประเทศนี้กำลังเสพติดความบันเทิงของทรัมพ์ จนยากที่จะละสายตาจากการประธานาธิปดีผู้ซึ่งพูดอย่างไรก็ได้ ในเรื่องอะไรก็ได้ เป็นเรื่องผิดปกติ เหมือนเห็นช้างบินได้ หรือม้าพูดได้ จนคุณอดไม่ได้ที่จะจ้องมองเขา

ทรัมพ์เริ่มเป็นที่จับตาทางการเมืองด้วยการตั้งคำถามต่อคุณสมบัติของประธานาธิปดีโอบามา ซึ่งเป็นการต่อต้าน อย่างไร้ซึ่งความเคารพ จนทำให้เขาได้รับความสนใจ นอกจากเป็นนักธุรกิจแล้ว เขายังเป็นเซเล็บ และดาราเรียลรีตี้โชว์ แต่เขาไม่พึงพอใจกับการเป็นเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ธรรมดา รวมถึงความเป็นดารา เขาตั้งเป้าหมายให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางความสนใจของคนทั้งอเมริกา (และทั้งโลก) ด้วยการลงสมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดี จนตอนนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆ ว่า แม้คนทั้งโลกจะรังเกียจชายคนนี้ แต่ทุกคนก็กำลังให้สนใจ ทุกทวีตเตอร์ที่เขาโพสเช่นกัน

 

www.democraticunderground.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Reference: https://www.mundoeneagrama.com/blog/en/understanding-donald-trumps-personality-typeand-why-it-matters/

สรุปและเรียบเรียง : วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช


อ. วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช (CPA, MBA, MA)
MD บ. สยามเอ็นเนียแกรม คอลซัลติ้ง จำกัด
– Certified Enneagram Trainer, Accredited Enneagram Teacher (IEA)
– Certified MBTI Practitioner
– ประสบการณ์ในบริษัทต่างๆ 20 ปี (ตำแหน่งสุดท้าย Finance & HR Director – Bisnews AFE)
– นำการสัมมนาหลักสูตร เอ็นเนียแกรม ให้กับองค์กรต่างๆ มากกว่า 500 รุ่น
– แปลหนังสือเอ็นเนียแกรม และอื่นๆ รวม 14 เล่ม